วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกไฟไหม้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกไฟไหม้

เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ เกิดขึ้นก็อาจมีผู้ได้รับบาดเจ็บซึ่งอาจจะเป็นประชาชนผู้ประสบภัย หรือ ตัวเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ที่เข้า ปฏิบัติหน้าที่เอง และที่


หน่วยพยาบาลพบก็จะมีอาการสำลักควันไฟ และไฟไหม้ผิวหนังที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกายของเราเมื่อผิวหนังถูกทำร้ายด้วยความร้อนเกิดเป็น

แผลไหม้จะะทำให้เกิดอันตรายตั้งแต่น้อยจนถึงเสียชีวิตได้แผลไหม้เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายสัมผัสกับความร้อนสารเคมี

กระแสไฟฟ้าหรือรังสีมากเกินไป ทำให้ผิวหนังไหม้ เนื้อเยื่อถูกทำลาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องทันทีความรุนแรง

ของแผลไหม้ก็ยิ่งจะมีผลต่อผู้ประสบภัยมากขึ้นเท่านั้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง



หลักการปฐมพยาบาลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก



1. หยุดยั้งความร้อนโดยปฏิบัติดังนี้

- ดับไฟด้วยน้ำราด หรือใช้ผ้าหนา ๆ คลุมตัว

- ถอดเสื้อผ้าที่ไฟไหม้ หรือถูกน้ำร้อนพร้อมเครื่องประดับที่อมความร้อนออกให้หมด

2. ตรวจร่างกาย ดูการหายใจ ดังนี้

- การหายใจถ้าพบสิ่งผิดปกติ เช่น เสียงแหบ หายใจผิดปกติ ต้องรีบช่วยหายใจโดยเร็ว

- ชีพจรถ้าเบามากหรือไม่เต้นต้องรีบช่วยนวดหัวใจ

- ถ้าบาดเจ็บมีเลือดออกต้องรีบห้ามเลือดก่อน

ผู้ป่วยแผลไหม้จากสารเคมี ถ้าเป็นสารเคมีอันตราย บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าไปยังจุดที่เกิดเหตุโดยเด็ดขาด ให้ติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมมลพิษ

นำผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ ล้างทำความสะอาดแล้วค่อยเข้าให้การช่วยเหลือต่อไปแต่หากไม่ใช่สารเคมีอันตราย มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1.สารเคมีชนิดผง ให้รีบถอดเสื้อผ้า เครื่องประดับและปัดสารออกจากผิวหนัง ก่อนใช้น้ำสะอาดล้างโดยวิธีตักราดหรือเปิดน้ำไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที

2.สารเคมีที่เป็นของเหลว ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับ ล้างด้วยน้ำสะอาด 10-15 นาที

3.สารเคมีพวกฟอสฟอรัส ห้ามใช้น้ำหรือสารละลายใดๆ ล้างโดยเด็ดขาด ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้จากไฟฟ้าซ็อต ประเมินภาวะการหายใจและระบบไหล

เวียนโลหิต แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

ผู้ที่ได้รับรังสี ให้การช่วยเหลือดังนี้

1.ให้หลบเข้าที่กำบัง เช่นกำแพง ตึก ลำคลอง ทันที หาเครื่องปกคลุมร่างกาย หลับตาไม่มองรังสีหรือระเบิด

2.ปัดฝุ่นละออง สลัดเสื้อผ้า

3.ห้ามผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือน้ำทุกชนิด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล






การปฐมพยาบาลแผลไหม้

1. เฉพาะชั้นผิวหนัง

- ระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล แช่ลงในน้ำหรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลานานประมาณ 10 นาทีซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยได้

- ทาด้วยยาทาแผลไหม้

- ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่ผองออก

- ปิดด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

- ถ้าแผลไหม้บริเวณกว้าง หรืออวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

2. ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

- ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น

- ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล

- ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล

บาด แผลไฟลวก ปัญหาจากบาดแผลไฟลวกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากอุบัติเหตุ การดูแลรักษาประกอบด้วยหลักการที่สำคัญหลายประการ ในการประเมินความรุนแรงของ






บาดแผลไฟลวก จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้


ระดับความลึกของแผลไฟลวก (Burn depth) แบ่งออกได้เป็น

ระดับที่หนึ่ง First-degree burns

ถือ เป็นบาดแผลที่น้อยที่สุด ตรวจพบความเสียหายที่ชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ผิวหนังมีลักษณะแดง เจ็บปวด กดเจ็บ ไม่เห็นลักษณะผิวพอง และการตรวจประสาทรับสัมผัส

ระหว่างสองจุดบนผิวหนังไม่พบว่าผิดปกติแต่อย่างใด บาดแผลในระดับที่หนึ่งนี้จะหายภายในเวลา 3-5 วันโดยไม่เกิดแผลเป็น

ระดับที่สอง Second-degree burns

แบ่งย่อยออกเป็นสองชนิด superficial partial-thickness และ deep partial-thickness burns จะ พบว่าโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนังบางอย่างยังไม่ได้รับ

ความเสียหาย และร่างกายสามารถซ่อมแซมได้ โดยมากไม่ต้องทำการผ่าตัดปลูกย้ายผิวหนังแต่อย่างใด

บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น หรือที่เรียกว่า superficial partial-thickness burn จะเกิดขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าและส่วนบนของหนังแท้ ทำให้ผิวหนังพอง เกิดเป็น

blisters ลักษณะเป็นสีแดงเรื่อๆ ชื้น อ่อนนุ่ม เจ็บ การหายของแผลใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไม่เกิดแผลเป็น

ส่วนบาดแผลระดับที่สองชนิดลึก หรือที่เรียกว่า deep partial-thickness burns จะลึกถึงชั้น reticular dermis ของ หนังแท้ ผิวพองมีลักษณะหนาและแตกง่าย เซลล์ต่างๆ จะเริ่มแบ่งตัวภายใน 7-10 วัน บาดแผลชนิดนี้มีโอกาสเกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มากถ้าไม่มีการติดเชื้อซ้ำเติม แผลมักจะหายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่จะช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ

ระดับที่สาม Third-degree burns

เป็นแผลชนิดที่เรียกว่า full-thickness burns หมาย ถึง มีการทำลายทั้งส่วนของหนังกำพร้าและหนังแท้ ที่สำคัญคือเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นหนังแท้ถูกทำลายจนหมด

ลักษณะแผลมีสีขาวมองเห็นเส้นเลือดที่มีก้อนเลือดอุดตัน และผิวหนังส่วนที่เป็นบาดแผลนั้นจะมีอาการชา ปราศจากความรู้สึก ส่วนใหญ่ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด

ปลูกย้ายผิวหนัง ยกเว้นแผลเล็กมากขนาดน้อยกว่า 1 เซ็นติเมตร

ระดับที่สี่ Fourth-degree burns

แผล ลึกตลอดไปจนถึงชั้นใต้ผิวหนัง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ กระดูกที่อยู่ใต้ผิวหนัง แผลระดับนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยการล้างแผล

ตัดแต่งซ่อมแซมบาดแผล และแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อในชั้นใต้ผิวหนัง

ขนาดของแผล (Burn size)

คำนวณโดยใช้หลัก "rule of nines" เพื่อ ประมาณพื้นที่ผิวหนังที่ได้รับความเสียหาย ในผู้ใหญ่คิดเป็น 9% สำหรับบริเวณศีรษะและคอ 18% สำหรับแขนแต่ละข้าง 18%

สำหรับด้านหน้าและด้านหลังของลำตัว 18% สำหรับขาแต่ละข้าง และ 1% สำหรับบริเวณฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์

อายุของผู้ป่วย Age and burn size
ผู้ ป่วยที่มีอายุมากจะเกิดปัญหาจากแผลไฟลวกมากกว่าเด็ก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอายุ 20 ปี ขนาดแผล 40% อัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 8

ในขณะที่ถ้าเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอายุ 70 ปี อัตราเสียชีวิตเพิ่มเป็นร้อยละ 94 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคตับ เป็นต้น

: ข้อมูลอ้างอิงจาก สถานีดับเพลิงสามเสน